งาขี้ม่อน (Perilla)
งาขี้ม่อนมีชื่อทางวิทยสศาสตร์ว่า Perilla frutescens L. เป็นพืชตระกูลมิ้นต์ (Lamiaceae) มีชื่อเรียกแตกต่างกันหลายชื่อเช่น งาขี้ม่อน งาม่อน งาม้อน งาขี้ม้อน งามน งาปุก ดั้งเดิมเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในแถบเอเชีย เช่น อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลี สำหรับในประเทศไทยพบการปลูกกระจายทั่วไปในพื้นที่ดอนและเชิงเขา ในจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน เช่น จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ และน่าน ในปัจจุบันมีการปลูกกระจายไปยังในที่อื่นๆทั้งในอเมริกา ยุโรปและตะวันออกกลาง
เหตุที่เรียกว่าขี้ม่อนหรืองาขี้ม้อนนั้น มาจากลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกับมูลของตัวหม่อนหรือม้อนที่ให้เส้นใยไหม (1) ซึ่งมีขนาดประมาณ 1-2 มิลลิเมตร ใกล้เคียงกับเมล็ดงา แต่รูปร่างจะเป็นเม็ดกลมๆ เล็กๆ สีน้ำตาลหรือสีเทา นิยมนำไปเป็นส่วนประกอบอาหาร กินเล่น เช่น คุกกี้ หรือข้าวหนุกงา
นอกจากนำมาใช้ในการประกอบอาหารแล้ว งาขี้ม่อนยังถือเป็นพืชสมุนไพร เม็ด น้ำมัน และใบยังมีสรรพคุณทางยาใช้ในการแพทย์พื้นบ้าน แพทย์แผนโบราณในหลายประเทศ ในแพทย์แผนจีนใช้ส่วนใบ ราก และเม็ดงาขี้ม่อนเป็นสมุนไพรในการรักษาโรคทางเดินหายใจ โรคหอบหืด ไอ ละลายเสมหะ หวัด คัดจมูก แผลร้อนใน อาหารเป็นพิษ(2) การที่งาขี้ม่อนมีคุณสมบัติในการดูแลรักษาสุขภาพนอกเหนือไปจากคุณค่าทางโภชนาการแล้วเราอาจจะเรียกได้ว่างาขี้ม่อนจัดเป็นอาหารฟังชั่น (Functional food)
องค์ประกอบโดยประมาณของงาขี้ม่อน (3)
ไขมัน 40-55%, โปรตีน 25%, คาร์โบไฮเดรท 22 % ที่เหลือเป็น วิตามิน แร่ธาติ อื่นๆ (องค์ประกอบดังกล่าวอาจมีความแตกต่างกันมากตามสายพันธ์และพื้นที่ปลูก)
แร่ธาตุในงาขี้ม่อน 100 กรัม
Minerals | Perilla seed |
Calcium (mg) | 249.9 |
Magnesium (mg) | 261.7 |
Phosphorous (mg) | 677.2 |
Iron(mg) | 9.54 |
Manganese(mg) | 4.93 |
Zinc (mg) | 4.22 |
Chromium (µg) | 17.6 |
Copper (mg) | 0.20 |
Source – Longvah & Deosthale (1991)
น้ำมันงาขี้ม่อน
งาขี้ม่อนมีองค์ประกอบของไขมันถึง 35-55 % ส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (polyunsaturated fatty acids :PUFAs) ซี่งเป็นกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะกรดไขมัน alpha-linolenic acid (ALA) หรือโอเมก้า ซึ่งเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็น EPA และ DHA (นอกจากนั้นยังมีส่วนประกอบของโอเมก้า 6 และโอเมก้า 9) โดยกรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 จัดอยู่ในกลุ่มกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ จำเป็นต้องได้จากการรับประทานเข้าไป การรับประทานงาขี้ม่อนหรือน้ำมันงาขี้ม่อนจึงเป็นแหล่งโอเมก้า 3 จากพืช ทดแทนโอเมก้า 3 จากปลาทะเล ในกลุ่มผู้รับประทานมังสวิรัตหรือผู้ที่ไม่สามารถรับประทานปลาได้
ในกระบวนการทำน้ำมันงาขี้ม่อนสะกัดเย็น(Cold pressed perilla seed oil) งาขี้ม่อนดิบที่ทำความสะอาดและตากแห้งแล้วประมาณ 7-8 กิโลกรัม สกัดน้ำมันงาขี้ม่อนได้ 1 กิโลกรัม นำมาผ่านการกรองและบรรจุขวดเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
ประโยชน์ของงาขี้ม้อน (3,4,5,6,7)
- ประโยชน์ต่อหลอดเลือดและหัวใจ: เนื่องจากในงาขี้ม่อนมีโอเมก้า 3 ในปริมาณที่สูงมาก ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดอุดตัน
- ต้านการอักเสบของโรคกระดูกและข้อรูมาตอยด์ กรดไขมันโอเมก้า 3 (ALA) ในน้ำมันงาขี้ม่อน จะถูกเปลี่ยนเป็น กรดไขมัน EPA และ DHA ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการอักเสบของโรคกระดูกและข้อโดยเฉพาะกลุ่มโรคข้อรูมาตอยด์ การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำมันงาขี้ม่อนจะช่วยลดการพึ่งพายาแก้ปวดในกลุ่มผู้ป่วยโรคข้อรูมาตอยด์
- บรรเทาอาการภูมิแพ้อากาศ หอบหืด และโรคทางเดินหายใจ Rosmarinic acid พบในส่วนใบ เม็ด และน้ำมันงาขี้ม่อนช่วยยับยั้งกระบวนการเกิดภูมิแพ้ในร่างกาย โดยเฉพาะการแพ้อากาศที่เกิดขึ้นตามฤดูกาล (seasonal allergy) มีหลักฐานว่ามีการใช้งาขี้ม่อนในการแพทย์แผนจีนมาตั้งแต่สมัยโบราณในการดูแลรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
- ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในงาขี้ม่อนเกิดจากสารประกอบหลายชนิด ตัวที่สำคัญได้แก่ rosmarinic acid, luteolin, apigenin, และ chrysoeriol ซึ่งมีการศึกษาที่เปรียบเทียบคุณสมบัติการต้านอนุมูลอิสระพบว่าในงาขี้ม่อนมีมากกว่าในเมล็ด Chia และ เมล็ด Flax ซึ่งสารอนุมูลอิสระดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญของการเสื่อมสลายของเซลต่างๆในร่างกายรวมถึงการเกิดมะเร็งหลายชนิด
- ป้องกันมะเร็ง จากคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระในงาม้อน ทำให้มีคุณสมบัติป้องกันการเกิดมะเร็ง ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันพบว่างาขี้ม่อนมีฤทธิ์ป้องกันและยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง (anticarcinogenic effect)ได้แก่มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งของไต ในหนูทดลอง ข้อมูลดังกล่าวมีผลชัดเจนในสัตว์ทดลอง อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังไม่มีผลการทดลองดังกล่าวในมนุษย์
- สมองและความจำ มีการทดลองในสัตว์ทดลองพบว่า น้ำมันงาขี้ม่อนช่วยเพิ่มการทำงานของสมองส่วนเชาว์ปัญญา ความจำ และมีฤทธิ์ต้านการเกิดภาวะซึมเศร้า(ข้อมูลปัจจุบันยังไม่มีรายงานการทดลองในมนุษย์)
- บำรุงผิว รักษาอาการผื่นแพ้ของผิวหนัง สาร Rosmarinic acid ในน้ำมันงาช่วยให้ผิวมีความชุ่มชื้น ลดการอักเสบของผิวหนัง โดยเฉพาะผิวหนังอักเสบที่เกิดจากอาการแพ้ที่เรียกว่า atopic dermatitis
- ป้องกันรักษาแผลร้อนใน ในการแพทย์แผนจีนมีการใช้ส่วนใบ ราก เมล็ด และน้ำมันในการป้องกันและรักษาแผลร้อนใน
- บำรุงกระดูกและฟัน เนื่องจากในงาขี้ม่อนอุดมไปด้วยแร่ธาติแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี และสารอาหารอื่นๆ ที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
- ช่วยลดระดับโคเลสเตอรอล มีรายงานการศึกษาหลายการศึกษาทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์พบว่า การรับประทานน้ำมันงาขี้ม่อนช่วยลดระดับไขมันกลุ่มโคเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไขมัน LDL ลงได้ ผลดังกล่าวจะยิ่งชัดเจนมากขึนหากใช้ร่วมกับการออกกำลังกาย
งาขี้ม่อนคั่วสุกพร้อมรับประทาน บรรจุซองซิปล้อก 100 กรัม
อ้างอิง
- https://www.matichonweekly.com/column/article_176558
- https://www.drugs.com/npp/perilla.html
- https://biomedpharmajournal.org/vol12no2/a-review-on-nutritional-value-functional-properties-and-pharmacological-application-of-perilla-perilla-frutescens-l/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3167467/
- https://www.honestdocs.co/perilla-seed
- https://www.researchgate.net/publication/266144521_A_Phytopharmacological_Overview_on_Perilla_frutescens
- A Review on Bioactivities of Perilla: Progress in Research on the Functions of Perilla as Medicine and Food
- https://selfhacked.com/blog/perilla-oil/
สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่