ประโยชน์ของน้ำมันงา
งา
งามีชื่อภาษาอังกฤษที่ใช้กันทั่วไปคือ Sesame มีชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Sesamum indicum L. งาเป็นพืชเก่าแก่ มีการปลูกและใช้ประโยชน์มากว่า 5,000 ปี จัดเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง นอกจากนั้นเมื่อสกัดเป็นน้ำมันงาแล้ว ยังมีสรรพคุณทางการแพทย์ที่ใช้ในทางแพทย์อายุรเวทของทางอินเดีย ตลอดจนการแพทย์พื้นบ้านในหลายๆประเทศ ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้าถึงประโยชน์ของงาและ ประโยชน์ของน้ำมันงา ทั้งด้านการนำมาแปรรูป การใช้สารสกัดต่างๆในเชิงการแพทย์แผนปัจจุบันอย่างกว้างขวาง
องค์ประกอบของเมล็ด
เมล็ดงามีรูปร่าง ขนาด สีและเปลือกหุ้มแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพันธุ์ ในประเทศไทยมีงาสามกลุ่มใหญ่ๆคือ งาดำ งาขาว งาแดง องค์ประกอบของเมล็ดงาโดยประมาณ ประกอบด้วย น้ำมันงา 40-50% โปรตีน 20-25% คาร์โบไฮเดรท 20-25% ธาตุอาหาร เยื่อใย วิตามิน และสารลิกแนนที่สำคัญคือ เซซามิน และเซซาโมลิน 5-6%
องค์ประกอบโดยประมาณในเมล็ดงา
- น้ำมันงา (sesame oil) 40-50%
- โปรตีน (Protein) 20-25%
- คาร์โบไฮเดรท(Carbohydrate) 20-25%
- ธาตุอาหารและวิตามิน(mineral and vitamin)
- ลิกแนน (Lignans) สารต้านอนุมูลอิสระ เซซามินและเซซาโมลิน
การใช้ประโยชน์ของน้ำมันงา
สามารถใช้ประโยชน์ทั้งจากเมล็ดงา และการสกัดน้ำมันงา
เมล็ดงา(sesame seeds) นิยมใช้ในการทำอาหาร นำมาคั่วรับประทานหรือใส่ในอาหารต่างๆ เช่น ยำ สลัด เนื้อสัตว์ ขนมปัง เป็นต้น
น้ำมันงา(sesame oil)
มีการนำมาใช้ในหลากหลายด้าน ในท้องตลาดมี 2 ชนิดคือ
น้ำมันงาคั่ว(น้ำมัันงาที่บีบอัดหรือสกัดจากเมล็ดงาคั่วสุก) จะมีกลิ่นหอมแรงกว่า นิยมนำมาประกอบอาหารในลักษณะปรุงรสและปรุงกลิ่น
น้ำมันงาสกัดเย็น น้ำมันที่ได้จากการบีบอัดหรือสกัดด้วยเครื่องมือต่างๆ เช่น ครกไม้ ครกหิน หรือเครื่องจักร ที่อุณหภูมิปกติของเม็ดงา(เม็ดงาดิบที่ไม่ผ่านการคั่ว) แล้วนำมาผ่านกระบวนการตกตะกอน หรือผ่านเครื่องกรอง ได้เป็นน้ำมันงาสกัดเย็น จากกระบวนการผลิตที่ผ่านความร้อนต่ำกว่า น้ำมันงาสกัดเย็นจึงยังคงคุณสมบัติต่างๆ เช่นสารอาหาร แร่ธาตุและวิตามินต่างๆ ตามธรรมชาติอยู่มาก
การใช้ประโยชน์ของน้ำมันงา สกัดเย็น
1.ประกอบอาหารสุขภาพ ทำน้ำสลัด สลัด ยำต่างๆ หมักเนื้อสัตว์ ผัด (ไม่นิยมใช้ในการทอดอาหารเนื่องจากเกิดความร้อนสูงเป็นระยะเวลานานทำให้สูญเสียคุณค่า และ ประโยชน์ของน้ำมันงาสกัดเย็นไป)
ในน้ำมันงาสกัดเย็นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายดดยเฉพาะไขมันชนิดไม่อิ่มตัวและสารต้านอนุมูลอิสระได้แก่ เซซามิน เซซาโมลิน และวิตามินอี ซึ่งช่วยในด้านต่างๆได้แก่
- บำรุงกระดูกและข้อ มีการศึกษาวิจัยในห้องทดลองพบว่าสารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันงา ช่วยลดการเสื่อสลายของเซลกระดูกอ่อน ลดกระบวนการอักเสบของกระดูกและข้อ ซึ่งพบได้ในโรคต่างๆเช่น โรคข้อเสื่อม โรครูมาตอยด์
- บำรุงหลอดเลือดและหัวใจ การที่น้ำมันงาสกัดเย็นมีองค์ประกอบของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในปริมาณสูง ร่วมกับคุณสมบัติต้านการอักเสบ ทำให้ช่วยลดการสะสมตัวของไขมันบริเวณหลอดเลือดในร่างการ ชลอการเกิดภาวะหลอดเลืออุดตัน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ
- ลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง สารอนุมุลอิสระเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในการเกิดโรคมะเร็ง การรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงจะช่วยป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้ ในน้ำมันงาสกัดเย็นมี สารเซซามิน(sesamin) เซซาโมลิน(sesamolin) และวิตามินอี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง
2.เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สปาและความงาม เช่น น้ำมันนวดตัว น้ำมันหมักผม ครีม แชมพู สบู่ เป็นต้น
- บำรุงผิวพรรณ ลดอาการผิวแตก ผิวแห้ง
- หมักผมให้นุ่ม เงางาม
3.ใช้ในการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์อายุรเวท การแพทย์แผนโบราณ การแพทย์พื้นบ้าน มีการนำน้ำมันงาสกัดเย็นใช้ในการนวดบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อโดยตรงเช่นการแพทย์อายุรเวทของทางอินเดีย หรือนำไปเข้าตัวยาสมุนไพรอื่นๆ เพื่อใช้ในการแพทย์พื้นบ้าน แพทย์แผนโบราณ เช่น
- น้ำมันสมานกระดูก
- น้ำมันขัดมอน
- น้ำมันเหลือง
เรียบเรียงโดย
โรงงานน้ำมันงาตรากล้วยไม้
อ้างอิง
- https://en.wikipedia.org/wiki/Sesame
- https://www.organicfacts.net/health-benefits/oils/sesame-oil.html
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/20027138
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4390211/
สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่