เซซามิน (Sesamin) เซซาโมลิน (sesamolin) และเซซามอล (Sesamol) คือสารพฤกษเคมี (Phytochemical) กลุ่มลิกแนน ที่อยู่ในงาและน้ำมันงา มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและต้านอักเสบ
ในงาและน้ำมันงามีองค์ประกอบที่เป็นสารอาหารเช่น โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และสารพฤกษเคมี องค์ประกอบเหล่านี้ บางชนิดมีฤทธิ์ทางชีวภาพ(Bioactive components) ต่อต้านหรือป้องกันโรค โดยเฉพาะกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของร่างกายรวมถึงโรคมะเร็ง โดยช่วยให้เอ็นไซม์บางกลุ่มทำงานได้ดีขึ้น เอ็นไซม์บางชนิดทำหน้าที่ต้านการอักเสบ บางชนิดทำลายสารก่อมะเร็ง (1,2)
องค์ประกอบของสารชีวภาพในงาและน้ำมันงา (3)
ตารางจาก https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4127822/
ในงาดิบมีเซซามินประมาณ 0.5-1.1%, เซซาโมลิน 0.2-0.6%, และเซซามอลปริมาณเล็กน้อย (4) ความสำคัญของสารกลุ่มนี้ คือ การเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ จึงมีการศึกษาถึงศักยภาพในการนำมาใช้รักษาโรคที่เกี่ยวกับการอักเสบและโรคมะเร็ง
เนื่องจากมีการนำน้ำมันงามาใช้ประโยชน์ในหลายด้าน งานวิจัยจึงมีความหลากหลาย บางการศึกษาเป็นการศึกษาประโยชน์ของการรับประทานงา บางการศึกษาเป็นเรื่องของการใช้ประโยชน์ของน้ำมันงา ในขณะที่บางการศึกษาเป็นการใช้ประโยชน์ของสารสำคัญที่เฉพาะเจาะจงแต่ละชนิดในน้ำมันงา เช่น เซซามิน งานวิจัยจำนวนมากยังอยู่ในระดับห้องทดลอง เช่นในหลอดทดลอง ในสัตว์ทดลอง เป็นต้น อย่างไรก็ตามการนำคุณสมบัติต่างๆในงาและน้ำมันงามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ยังคงจำเป็นต้องได้รับการศึกษาวิจัยในมนุษย์ซึ่งยังต้องอาศัยเวลาและข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต ในปัจจุบันมีการนำน้ำมันงาสกัดเย็นมาใช้ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
คุณสมบัติต้านอนุมุลอิสระ(anti-oxidant)
ในภาวะปกติร่างกายจะมีการสร้างสารอนุมูลอิสระเกิดขึ้นและมีมากขึ้นเมื่ออยู่ในภาวะเครียดหรือได้รับสารพิษ ร่างกายมีกลไกการกำจัดสารอนุมุลอิสระอยู่แล้ว แต่ในสภาวะที่มีการสร้างสารอนุมุลอิสระเหล่านี้ในปริมาณที่มาก กลไกการกำจัดสารอนุมุลอิสระที่มีอยู่อาจไม่สามารถจัดการได้เพียงพอ จึงเป็นสาเหตุหนึ่งของความเจ็บป่วยเช่น การอักเสบของรางกาย โรคมะเร็ง และความแก่ชรา ในธรรมชาติมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เข้าไปช่วยเสริมการทำงานของเอนไซม์ในร่างกายให้สามารถกำจัดสารอนุมุลอิสระได้ดียิ่งขึ้นเช่น วิตามินซี วิตามินอี
เซซามิน เซซามโมลิน และเซซามมอล เป็นสารต้านอนุมูลอิสระในธรรมชาติที่อยู่ในงาและน้ำมันงา มีผลช่วยต้านการทำลายของเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคต่างๆเช่น โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดและหัวใจ และความแก่ชรา(5)
คุณสมบัติต้านการอักเสบ(anti-inflammatory)
คุณสมบัติเสริมสร้างกระดูกและข้อ ป้องกันโรคกระดูกพรุน
มีการศึกษาวิจัยในห้องทดลอง (โดยใช้เซลล์กระดูกต้นขาของหนู) พบว่าเซซามินมีผลช่วยสร้างเซล์กระดูกและชะลอการเสื่อมของเซลล์กระดูก(6) การเสื่อมดังกล่าวเป็นสาเหตุสำคัญของโรคกระดูกพรุน การทดลองนี้กล่าวถึงศักยภาพของเซซามินที่มีโอกาสใช้ในทางการแพทย์เพื่อป้องกันรักษาภาวะกระดูกพรุนในอนาคต (ยังไม่มีผลการวิจัยในมนษย์)
คุณสมบัติดูแลผิวพรรณ
ในสมัยโบราณมีการใช้น้ำมันงาทาผิวบริเวณที่ไหม้จากแสงแดด ทาวผิวในคนท้องเพื่อป้องกันหน้าท้องแตกลาย ทาผิวบริเวณต่างๆของร่างกายเพื่อป้องกันผิวเหี่ยวย่น การศึกษาวิจัยในปัจจุบันพบว่า เซซามิน ในน้ำมันงาช่วยป้องกันการทำลายเซลล์ผิวหนัง ป้องกันการเกิดริ้วรอย ที่เกิดจากแสงแดด UV ได้ (7)
คุณสมบัติบำรุงเส้นผม
- https://www.phytochemicals.info/
- https://www.aicr.org/resources/blog/healthtalk-whats-the-difference-between-an-antioxidant-and-a-phytochemical/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4127822/
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4397349/
- https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S0014299917306702?via%3Dihub
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6659468/#b20-medscimonit-25-5312
- https://www.mdpi.com/2218-273X/9/9/479/htm